อาคม ตุลาดิลก
อาคม ตุลาดิลก | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 ธันวาคม พ.ศ. 2485 |
พรรคการเมือง | พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา |
อาคม ตุลาดิลก เป็นนักวิชาการและนักการเมืองชาวไทย เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงใหม่ และเป็นอดีตสมาชิกพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา
ประวัติ
[แก้]อาคม ตุลาดิลก เกิดเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2485 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2513 ระดับปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษาและสาขาบริหารงานตำรวจขบวนการยุติธรรม ระดับปริญญาเอก สาขาบริหารการศึกษาชั้นสูง จากมหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตต เมื่อปี พ.ศ. 2516 และ พ.ศ. 2520 ตามลำดับ[1]
การทำงาน
[แก้]อาคม ตุลาดิลก รับราชการเป็นข้าราชการในสังกัดกรมการปกครอง เคยเป็นนายอำเภอฝาง[2] จังหวัดเชียงใหม่ และเป็นอาจารย์และวิทยากรฝึกอบรมหลักสูตรนายอำเภอ ของกรมการปกครอง และเคยเป็นเจ้าหน้าที่องค์การสหประชาชาติ ปฏิบัติงานกำกับการเลือกตั้งในประเทศนามิเบีย และเป็นคณะทำงานสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
อาคม ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงใหม่ ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2543 และได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย – บราซิล[3] ต่อมาในปี 2549 นายอาคม ได้ยื่อความประสงค์สมัครเป็นเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง[4]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบสัดส่วนกลุ่มจังหวัดที่ 1 สังกัดพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ลำดับที่ 4[5] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
อาคม เป็นอาจารย์สอนวิชานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง เช่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น[6] มหาวิทยาลัยรังสิต
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2545 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[9]
- พ.ศ. 2535 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม[ลิงก์เสีย]มหาวิทยาลัยรังสิต
- ↑ ส.ว.เชียงใหม่ ฟันธง" กลุ่มอิทธิพล" ฆ่าพระสุพจน์
- ↑ สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล - กระทรวงการต่างประเทศ
- ↑ ผู้สมัครชิงเลขาฯ กกต.ล่าสุด 9 คน แล้ว "การุณ" แย้มจะลงชิงด้วย
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน (พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา)
- ↑ "คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-19. สืบค้นเมื่อ 2020-05-01.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๓๐, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-01-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๑๒๘, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๔๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖๗, ๑๐ เมษายน ๒๕๓๕
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2485
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- อาจารย์คณะรัฐศาสตร์
- นักการเมืองจากจังหวัดเชียงใหม่
- สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงใหม่
- พรรคชาติพัฒนากล้า
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากสถาบันรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตต